เหรียญเซ็งลี้ฮ้อ ปลุกเสกโดย หลวงพ่อเกษม เขมโก ในวันตรุษจีน ปี พ.ศ.2536 ด้านหน้าเป็นหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ส่วนด้านหลังเป็นมังกร มีจัดสร้างออกมาสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก สำหรับเนื้อหาในวันนี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะเหรียญเซ็งลี้ฮ้อพิมพ์เล็กเท่านั้นนะครับ โดยตำหนิที่ทำไว้ด้านล่างจะเป็นเนื้อทองแดง
จำนวนการสร้าง เหรียญเซ็งลี้ฮ้อพิมพ์เล็ก
- เนื้อทองคำ ไม่มราบจำนวนที่แน่ชัด(คาดว่าตามจำนวนสั่งจอง)
- เนื้อเงิน 999 เหรียญ
- เนื้อทองแดง 5,000 เหรียญ
ตำหนิเหรียญเซ็งลี้ฮ้อพิมพ์เล็ก ด้านหน้า
1) มีเส้นกระแสเหรียญจากการปั๊มกระแทกแผ่ออกด้านข้าง
2) ตรงคำว่าเขมโก สังเกตที่พื้นเหรียญในโค้งของสระ โ จะมีจุดเนื้อเกินเล็กๆอยู่
3) ตรงคำว่าเกษม หน้าตัว ม จะมีขีดสั้นๆเชื่อมกับตัว ษ
4) บริเวณพื้นเหรียญแถวๆ 3 นาฬิกา จะมีเส้นขีดบางๆแอ่นขึ้น
5) ตรงคำว่าเขมโก ให้ดูที่ปลายสระโอจะมีการแตกออกเป็น 2 แฉก
6) ที่หัวนิ้วโป้งหลวงพ่อ(ฝั่งขวามือเรา) มีหลุมยุบเล็กๆ
ตำหนิเหรียญเซ็งลี้ฮ้อพิมพ์เล็ก ด้านหลัง
1) สังเกตที่ซ้ายมือของอักขระตัวนะ จะมีเนื้อเกินแตกออกมาคล้ายกับเครื่องหมายมากกว่า
2) ตามขอบเหรียญมีเส้นกระแสเหรียญจากการปั๊มเห็นได้อย่างชัดเจน
3) เม็ดตามังกรกลมคมชัดเกือบจะเท่ากันทั้งสองลูก และที่ปลายหนวดของมังกรจะมีเส้นเสี้ยนพุ่งมา 1 เส้น
4) รูเจาะหูเหรียญมีที่ปลิ้นจากการเจาะเล็กน้อย
5) เหนืออักขระ ตัวนะ ให้สังเกตที่พื้นขอบจะมีรอยตำหนิเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่า(ลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม)
6) ตามขอบเหรียญโดยเฉพาะช่วงโค้งของระฆังจะมีครีบปลิ้นจากการปั๊มตัด
ขอบตัดเหรียญเซ็งลี้ฮ้อพิมพ์เล็กเนื้อทองแดง
ตรงข้างหูเหรียญฝั่งขวามือเรา ตรงที่เป็นร่องยุบลงไปจะมีสันนูนขึ้นมาเหมือนกับพิมพ์ใหญ่เลยแต่จะเล็กกว่า และไม่คมเท่าพิมพ์ใหญ่