ประวัติเหรียญภปร. หลวงปู่เกษม เขมโก
จัดสร้างในปี พ.ศ.2523 โดยคณะกรรมการวัดคะตึกเชียงมั่น เพื่อหารายได้บูรณะวัดม่อนพญาแช่และเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เมตตาอธิฐานปลุกเสก ในวันเสาร์ที่5 เดือน 5 แรม 5 ค่ำ(เป็นวันแรง ของที่ปลุกเสกจะเข้มขลังเป็นพิเศษ)
เหรียญรุ่นนี้น่าจะเป็นเหรียญเพียงรุ่นเดียวของหลวงพ่อเกษมที่สร้างเยอะมากแต่ราคาเช่าหากลับไม่มีตกลงเลยและกำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสม(ส่วนใหญ่เหรียญรุ่นที่สร้างเยอะๆราคาเช่าหามักจะไม่ค่อยขยับ) สำหรับสาเหตุที่ได้รับความนิยมก็น่าจะมาจาก
- 1. รูปทรงสวยงาม เป็นฝีมือการออกแบบและแกะบล็อกด้วยมือของท่านเกษม มงคลเจริญ
- 2. มีเครื่องหมาย ภปร.(พระปรมาภิไธยย่อ ของในหลวง รัชกาลที่9) อยู่ที่ด้านหลังเหรียญ ซื่งการจะเอาเครื่องหมายภปร.ไปใส่ไว้ที่ไหน ถ้าหากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาติจากกษัตริย์จะไม่สามารถทำได้เลย ซื่งการที่หลวงพ่อท่านได้รับการยอมรับจากกษัตริย์ถือว่าไม่ใช่ธรรมดาครับ ดังนั้นการเก็บเหรียญรุ่นนี้นอกจากจะได้บุญบารมีจากหลวงพ่อเกษมแล้วยังมีพระบารมีจากพ่อหลวงแห่งแผ่นดินไทยเราด้วยครับ
- 3. เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์จากผู้ห้อย ผู้บูชามากมาย
- 4. ถึงแม้จะสร้างเยอะแต่เพราะพระสร้างมานานหลายสิบปีแล้ว ย่อมมีการสูญหาย เสียหาย สึกหรอไปตามกาลเวลา ทำให้พระที่สภาพสวยๆนั้นเหลือน้อยลงทุกวัน
โดยเหรียญรูปเหมือนหลัง ภปร. จะมีการมีการจัดสร้างออกมาสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก …และสำหรับท่านที่ต้องการเช่าบูชาเหรียญภปร. แบบประกันแท้ 100% สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เฟสแอดมิน ณัฐ มงคลเกษม ครับ
ลักษณะเหรียญภปร.พิมพ์ใหญ่
เป็นเหรียญกลมรูปไข่ ด้านหน้าจะเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเกษม เขมโก นั่งเต็มองค์ ส่วนด้านหลังมีเครื่องหมายภปร.
เหรียญภปร พิมพ์ใหญ่ มีกี่เนื้อโลหะ?
- เนื้อทองคำ 169 เหรียญ (ราคาเปิดให้เช่าบูชาเมื่อ พ.ศ.2523=7,000บาท)
- เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 2,523 เหรียญ (ราคาเปิดให้เช่าบูชาเมื่อ พ.ศ.2523=700บาท)
- เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 200,000 เหรียญ (ราคาเปิดให้เช่าบูชาเมื่อ พ.ศ.2523=50บาท)
- เนื้อทองแดงกะไหล่ทองกรรมการ (ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่ชัดแต่พบน้อยมาก จัดให้เฉพาะกรรมการเท่านั้น)
- เนื้อทองแดงชุบนิเกิลทาทองกรรมการ ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่ชัด แต่พบน้อยมาก
เหรียญภปร พิมพ์ใหญ่ มีกี่บล็อก?
การแยกบล็อกเหรียญภปร. จะแยกเฉพาะกับเนื้อทองแดงเพราะเนื้อทองแดงจำนวนการสร้างเยอะทำให้มีแม่พิมพ์หลายบล็อกพิมพ์มากๆ อาทิเช่น
- 1. บล็อกนิยม กขขีด (ตรงคำว่าเขมโก ตัว ก และ ข มีขีด)
- 2. บล็อก ๓ ขีด (ที่เลข ๒๕๒๓ เลข ๓ มีขีดสั้นๆที่ด้านบน)
- 3. บล็อก ข ขีด ๒ ขีด (ตรงคำว่าเขมโก ตัว ข มีขีด และที่เลข ๒๕๒๓ เลข ๒ ตัวหลัง มีขีด)
- 4. บล็อก ๒ ขีด ๓ ขีด (ที่เลข ๒๕๒๓ เลข ๒ ตัวหลังด้านล่าง มีขีด และที่เลข ๓ ด้านบนก็มีขีด)
- 5. บล็อก ๒ ตัวหน้าขีด (ที่เลข ๒๕๒๓ เลข ๒ ตัวหน้า มีขีดที่ด้านล่าง)
- 6. บล็อก ๒ ตัวหลังขีด (ที่เลข ๒๕๒๓ เลข ๒ ตัวหลัง มีขีดที่ด้านล่าง)
- 7. บล็อกธรรมดา (ไม่มีรอยขีดใดๆเลย)
ปล. เหตุผลที่ต้องแยกบล็อกออกมานั้น ก็เพื่อให้เพื่อนๆพี่ๆที่สนใจสะสมเหรียญรุ่นนี้ ได้แยกเก๊แท้ได้ง่าย(ถ้าเกิดในอนาคตมีของเลียนแบบที่เหมือนมากๆขึ้นมา รายละเอียดที่ทำไว้ก็จะสามารถใช้เป็นจุดชี้วัดได้) เพราะแต่ละบล็อกพิมพ์ตำหนิรายละเอียดในจุดต่างๆ โดยเฉพาะร่องรอยการตัดขอบเหรียญจะไม่เหมือนกัน ถ้าไม่แยกก็อาจจะเกิดการความสับสนในการจดจำตำหนิครับ
สำหรับการเช่าหาโดยทั่วไป ก็จะมีแยกแค่บล็อกท็อปสุด บล็อกรองท็อป และบล็อกธรรมดาเท่านั้นครับ
ลักษณะเหรียญภปร.พิมพ์เล็ก
เป็นเหรียญกลมรูปไข่ ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้หญิงห้อย ด้านหน้าจะเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเกษมครึ่งองค์ ส่วนด้านหลังมีเครื่องหมายภปร
เหรียญภปร พิมพ์เล็ก มีกี่เนื้อโลหะ?
- เนื้อทองคำ 169 เหรียญ (ราคาเปิดให้เช่าบูชาเมื่อ พ.ศ.2523=3,500บาท)
- เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 2,523 เหรียญ (ราคาเปิดให้เช่าบูชาเมื่อ พ.ศ.2523=300บาท)
- เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 200,000 เหรียญ (ราคาเปิดให้เช่าบูชาเมื่อ พ.ศ.2523=30บาท)
- เนื้อทองแดงกะไหล่ทองกรรมการ (ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่ชัดแต่พบน้อยมาก จัดให้เฉพาะกรรมการเท่านั้น)
เหรียญภปร พิมพ์เล็ก มีกี่บล็อก?
ภปร. พิมพ์เล็กก็มีจำนวนการสร้าง 200,000 เหรียญเช่นกัน มีจำนวนการสร้างเยอะก็ต้องมีบล็อกเยอะไปด้วย สำหรับพิมพ์เล็ก ผมจะขออนุญาติลงข้อมูลในการจำแนกบล็อกภายหลังนะครับ