เหรียญคุ้มภัยแปดทิศ หลวงพ่อเกษม เขมโก เมตตาปลุกเสกเมื่อปี พ.ศ. 2538 สำหรับเนื้อเงินลงยา จะมี 2 บล็อก คือบล็อกทองคำและบล็อกธรรมดา ในบทความนี้ผมขออนุญาตินำเสนอเป็นบล็อกธรรมดาครับ
ตำหนิเหรียญคุ้มภัย8ทิศ บล็อกธรรมดา ด้านหน้า
1) เส้นแบ่งช่องสีของลงยาจะเป็นช่องขนาดเล็ก และยาที่ลงจะสวยงามไม่เลอะเทอะ
2) ตรงร่องไหปลาร้า เส้นเอ็นของลำคอหลวงพ่อในส่วนที่นูนขึ้นจะมีลักษณะคมกว่าบล็อกทองคำ และที่พื้นของจุดดังกล่าว ถ้าหากลงกล้องดูจะเห็นร่องรอยของการแกะบล็อกด้วย
3) เหนือข้อมือของหลวงพ่อ(ฝั่งซ้ายมือเรา) ที่พื้นร่องจีวรจะมีเส้นเสี้ยนจากการแกะบล็อกเอียงประมาณ 50 องศาหลายเส้นและใกล้ๆกับข้อมือก็จะมีเส้นหนาๆขวางขนานกันอยู่ 2 เส้น
4) เหนือศีรษะหลวงพ่อ สังเกตตรงอักขระตัวนะ จะมีเส้นเชื่อมบางๆคมๆ
5) ใบหน้าหลวงพ่อคมชัด เห็นลูกตาทั้งสองข้างชัดเจน
6) ที่พื้นเหรียญช่วงท้ายคำว่าปลอดภัย จะมีเส้นขีดสั้นๆเอียงๆอยู่1เส้น
ตำหนิเหรียญคุ้มภัย8ทิศ บล็อกธรรมดา ด้านหลัง
1) ที่พื้นขอบเหรียญช่วงประมาณ 11 นาฬิกา(นตรงหัวมุมพอดี) จะมีรอยตำหนิคล้ายๆกับร่องลึกลงไปเล็กน้อยอยู่ในลักษณะเฉียง 45 องศา และถัดไปทางขวาอีกเล็กน้อยก็จะมีรอยโค้งๆอีก1จุด
2) ปลายสุดของยันต์ จะมีเส้นแตกสั้นๆเห็นได้อย่างชัดเจน
3) ตรงคำว่า ๗ รอบ ปลายเลข ๗ จะมีเส้นขีดบางมากๆสั้นๆอยู่
4) ที่พื้นของขอบเหรียญช่วงบริเวณ 1 นาฬิกา จะมีตำหนิเป็นร่องคล้ายครึ่งวงกลมอยู่(ในส่วนของครึ่งวงกลมจะนูนขึ้นคล้ายเนื้อเกิน)
5) โคนของหูหนูจะมีความหนากว่าบล็อกทองคำ และเส้นของโคนหูยังแทงเข้าไปในหัวหนูด้วย
6) สังเกตที่เท้าหน้าของหนู ปลายเท้าหน้าจะมีลักษณะโค้งๆ
ขอบตัดเหรียญเหรียญคุ้มภัย8ทิศ บล็อกธรรมดา
ลักษณะร่องรอยการตัดขอบเหรียญของบล็อกธรรมดาจะแตกต่างจากบล็อกทองคำอย่างชัดเจน โดยรอยตัดจะเข้าไปค่อนข้างลึกแล้วฉีกออกเพียงนิดเดียวเพราะเนื้อเงินมีความอ่อนตัวกว่าเนื้อโลหะอื่น
ร่องรอยการฉีกช่วง 4-5 นาฬิกา จะมีลักษณะการฉีกที่เป็นเอกลักษณ์คือมีการฉีกเฉียงๆ