เช็คพระแท้ตำหนิเหรียญเจ้าสัว พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดง หลวงพ่อเกษม เขมโก

เหรียญเจ้าสัว  “มีพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ ดังนั้นจึงค่อนข้างเหมาะกับคนค้าขาย”  จัดสร้างในปี พ.ศ.2535  มีการจัดสร้างออกมาทั้งหมดสองพิมพ์คือ เจ้าสัวพิมพ์ใหญ่ และ เจ้าสัวพิมพ์เล็ก

เหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม เมตตาเททองหล่อชนวนเหรียญเจ้าสัว ลาภ ผล พูลทวี ในพิธีนี้อีกด้วย และยังมีพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งยุคลงแผ่นจารทองคำ-เงิน-ทองแดง โดยมีพิธีอธิษฐานจิต (มนต์) ชนวนเหรียญเจ้าสัว ถึง 2 ครั้ง ครั้งที่1 ในวันพญาวัน 15 เมษายน พ.ศ.2535 ณ ศาลเจ้าแม่สุชาดา ครั้งที่ 2 ในวันวิสาขบูชา วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2535
และหลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ5รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535(วันแม่แห่งชาติ) อีกครั้งหนึ่ง

* ขอขอบคุณ ภาพโบรชัวร์ จากคุณอุดม เกียรติ์พิทักษ์ สายตรงพระสวย สายหลวงพ่อเกษม มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

โดยในเนื้อหาในบทความนี้ผมขออนุญาติพูดถึงเฉพาะพิมพ์เล็กนะครับ พิมพ์เล็กมีสร้างหลายเนื้อดังนี้

  • เนื้อทองคำ ตามจำนวนสั่งจอง (ตอกโค้ดหนู ด้านหลังเหรียญ) ราคาเปิดบูชาเมื่อปี พ.ศ.2535 = 9,000 บาท
  • เนื้อเงิน 999 องค์ (ตอกโค้ดหนู ด้านหลังเหรียญ) ราคาเปิดบูชาเมื่อปี พ.ศ.2535 = 400 บาท
  • เนื้อนวะโลหะ 1,999 องค์ ราคาเปิดบูชาเมื่อปี พ.ศ.2535 = 200 บาท
  • เนื้อทองแดง (ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่พบได้น้อยกว่าพิมพ์ใหญ่) ราคาเปิดบูชาเมื่อปี พ.ศ.2535 = 50 บาท
  • เนื้อทองแดงกะไหล่ทองกรรมการ (ตอกโค้ดหนูด้านหลัง และตอกเลข) จัดสร้างเพียง 100 องค์
  • เนื้อทองแดงกะไหล่เงินกรรมการ (ตอกโค้ด ก และตอกเลข)

ตำหนิเหรียญเจ้าสัว พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดง ด้านหน้า

1) ที่ข้างคอองค์พระ(ฝั่งซ้ายมือของเรา) จะมีเส้นขีดหนาๆอยู่ 2 เส้น

2) มีเส้นเสี้ยนตามพื้นขอบ

3) กลีบบัวอันซ้ายล่างสุด ถ้าส่องเจาะลงจากด้านบนจะเห็นร่องรอยเส้นเสี้ยนจากการแกะบล็อก(จุดอื่นก็มีแต่เห็นไม่ชัดเท่าจุดนี้)

4) ตรงกลีบบัวที่ประมาณ 1 นาฬิกา จะมีเม็ดกลมนูนขึ้นมา

5) ที่พื้นเหรียญในวงแขนขององค์พระทั้งสองฝั่ง ถ้าเอียงดูให้ดีจะเห็นเส้นบางๆขวางอยู่หลายเส้น จุดที่เห็นชัดที่สุดจะอยู่ตรงข้อพับแขน(ฝั่งขวามือของเรา)

6) ช่วงพื้นร่องใต้กลีบบัว(แถวด้านล่างเหรียญ) ส่องกล้องดูให้ดีจะเห็นเส้นเสี้ยนจากการแกะบล็อก

ตำหนิเหรียญเจ้าสัว พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดงด้านหลัง

1) ที่9 นาฬิกาของหูเหรียญ ตรงขอบส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นเนื้อปลิ้นบึนขึ้นมา

2) มีกระแสเหรียญจากการปั๊มกระแทกตามขอบเหรียญ

3) คำว่าเหรียน ให้ดูตรงสระ ี เกาะตรงกลางของ ี จะเป็นเส้นคมๆ

4) รูเจาะหูเหรียญมีครีบปลิ้นเล็กน้อย และรอบๆรูเจาะ จะมีเส้นลักษณะคล้ายกับรอยตะไบเฉียงๆอยู่บางจุด

5) ผิวมีลักษณะเป็นมันเลื่อม สวยงาม

ขอบตัดเหรียญเจ้าสัวพิมพ์เล็ก

เหรียญที่มีจำนวนการสร้างน้อยจะสามารถชี้จุดเก๊แท้จากร่องรอยการตัดได้ง่าย เพราะการสร้างน้อยนั้นหมายความว่าจะใช้ตัวตัดไม่เยอะหรือบางรุ่นจะใช้ตัวตัดเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น สำหรับเหรียญเจ้าสัวพิมพ์เล็ก ร่องรอยของขอบตัดที่น่าสนใจจะมีดังนี้

ที่ 5 นาฬิกาเกือบขอบล่างสุดของเหรียญ จะมีร่องบากที่ลึกมากและด้านหน้าเหมือนจะนูนเลยขอบมานิดนึง

คอเหรียญฝั่งซ้ายมือเรา จุดที่นูนออกมาจะมีร่องบากลึกตรงกัน

 

ใส่ความเห็น