จำนวนการจัดสร้างเหรียญระฆังอุ้มบาตร
- ชุดรวมเนื้อทองคำ,เงิน,ทองแดง 299 ชุด
- เนื้อเงิน 2,537 เหรียญ
- เนื้อนวะ 2,537 เหรียญ
- เนื้อทองแดง 10,000 เหรียญ
เหรียญรุ่นนี้อยู่ในรุ่นวันเพ็ญเดือน 12 จัดสร้างเนื่องในงานวันคล้ายวันเกิดครูบาเจ้าเกษม 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2536 ตรงกับวันลอยกระทง(วันเพ็ญเดือน 12) ก็เลยมีการตอกโค้ดกระทงที่พื้นเหรียญ เป็นเหรียญที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมสายหลวงพ่อเกษม แต่ราคาก็ยังถือว่าจับต้องได้อยู่ครับ ยังไม่แพง
ตำหนิเหรียญระฆังอุ้มบาตรเนื้อทองแดง ด้านหน้า
1)
1) รอยเจาะหูเหรียญจะเป็นแบบเจาะทีเดียวทะลุ
2) ที่แขนหลวงพ่อ(ฝั่งซ้ายมือเรา) ใกล้ๆกับรักแร้จะเป็นเส้นคมๆ และภายในวงแขนจะมีเส้นเสี้ยน
3) ที่ข้อมือของหลวงพ่อ(ฝั่งซ้ายมือเรา) เมื่อพลิกดูจะเห็นเส้นคมชัดเจน และนิ้วชี้และนิ้วกลางก็จะเห็นเล็บติดคมชัด
4) ที่พื้นใต้รูห่วงส่วนใหญ่จะมีติ่งเนื้อเกินโผล่ขึ้นมานิดนึงทั้งฝั่งซ้ายและขวา
5) เล็บนิ้วโป้งของหลวงพ่อจะติดคมชัด ถ้าเป็นของเก๊จะไม่เห็นเล็บเลย
6) จะมีการตอกโค้ดกระทงที่มุมขวาล่าง
7) ผิวเหรียญเรียบตึง ไม่มีรอยขรุขระ และมีกระแสเหรียญที่เกิดจากการปั๊มอยู่ตลอดพื้นเหรียญ
ตำหนิเหรียญระฆังอุ้มบาตรเนื้อทองแดง ด้านหลัง
1) รูเจาะเหรียญมีครีบปลิ้น เกิดจากการเจาะ
2) ตรงเลข ๒๘ บนเลข ๒ จะมีจุดเล็กๆอยู่
3) สังเกตตรงยันต์ วงกลมขวามือล่างจะมีการซ้อนกัน
4) ตามขอบเหรียญด้านซ้ายและขวาบนมีครีบปลิ้นจากการปั๊มตัด และจุดที่มีครีบปลิ้นมากที่สุดคือช่วงบริเวณ 1-2 นาฬิกา
5) คำว่าหลวงพ่อเกษม สังเกตที่กไก่จะมีเส้นขีดข้ามขึ้นไปหา ย.ยักษ์ ของคำว่าด้วย
6) มีกระแสเหรียญวิ่งตามพื้นเหรียญไปจนถึงขอบเหรียญ
ขอบตัดเหรียญระฆังอุ้มบาตร เนื้อทองแดง
ลักษณะรอยตัดมักจะเป็นแบบคมตัดเข้าไปแล้วฉีกออกคล้ายกระดาษทรายหยาบๆ โดยรอยตัดที่ควรพึงสังเกคุจะอยู่ที่ 2 นาฬิกา(กนกตัวแรก)