เหรียญโชคดี รุ่นแรก ปี 2532 หลวงพ่อเกษม เขมโก ปลุกเสกในพิธีเดียวกันกับเหรียญอย. ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2532 เหรียญโชคดีจัดสร้างโดยนิตยสารยอดธง โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง และนายชุมพลชัยธนานันท์
ตอนแรกเริ่มเป็นเหรียญที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแจกจ่ายๆให้แฟนๆของนิตยสารยอดธงเท่านั้น ไม่ได้เปิดให้เช่าบูชาแต่ประการใด แต่เนื่องจากในขณะนั้นมีผู้ที่ได้เหรียญรุ่นนี้ไปบูชาแล้วเกิดความโชคดีตามชื่อเหรียญจริงๆ อาทิเช่น ถูกหวย หน้าที่การงานดีขึ้น แม้กระทั่งในปัจจุบันก็มีผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับเหรียญรุ่นนี้มากมาย เป็นเหตุให้มีราคาเช่าบูชาสูงเรื่อยๆ
จำนวนการจัดสร้าง
- เนื้อทองคำ 15 เหรียญ
- เนื้อเงิน 41 เหรียญ
- เนื้อทองฝาบาตร บล็อกนะมีหัว สร้าง 2,000 เหรียญ
- เนื้อทองฝาบาตร บล็อกนะไม่มีหัว สร้าง 10,000 เหรียญ (มีกะไหล่ทอง กับเนื้อฝาบาตรดิบๆ)
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณแมน ลำปางกลาง และ คุณน้อย เมืองมีน สายตรงสายหลวงพ่อเกษม มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ตำหนิด้านหน้า เหรียญโชคดี บล็อกนะไม่มีหัว
1) จะมีเส้นเชื่อมคมๆระหว่างตัวนะซ้ายมือสุดกับตัวนะตัวกลาง
2) ขอบเหรียญจะตั้งนูนขึ้นทั้งเหรียญ และจะมีเม็ดเนื้อเกินตรงตำแหน่งที่ลูกศรชี้ในภาพ
3) ตรงคำว่า พ่อ ในตัว อ จะมีจุดเนื้อเกินเล็กๆ
4) คำว่า โชคดีเหนือตัว ช จะมีเส้นกระแสเหรียญคล้ายน้ำพุพุ่งกระจาย
5) ตรงคำว่าพ่อ สังเกตตรงไม้เอก จะมีเส้นคมๆขีดเอียงลงไปหาสระ เ (ตรงคำว่าเกษม)
ตำหนิด้านหลัง เหรียญโชคดี บล็อกนะไม่มีหัว
1) สังเกตที่ขอบวงนอกของหูหนู(ฝั่งขวามือเรา) จะมีจุดกลมเล็กๆ1จุด
2) จะมีเส้นคมวิ่งจากแก้มหนูวิ่งพาดไปทางหัวไหล่ของหนู
3) ที่พื้นเหรียญช่วงเกือบๆปลายหางหนู จะมีจุดกลมใหญ่อยู่ 1 จุด โดยเหนือจุดดังกล่าว(ส่วนใหญ่)จะมีเส้นขีดเฉียงออกไปด้านซ้าย(ทิศทางจะแหงนขึ้นไปทางดอกจันฝั่งซ้ายมือนิดนึง) และให้ดูที่ปลายหางหนูจะมีจุดเล็กมากๆ อยู่ใกล้กัน 2 จุด
4) ตรงคำว่า “บูชาไตร” เหนือตัว ช และสระ ไ ที่ขอบเหรียญจะมีติ่งยื่นออกมา
5) ที่พื้นเหรียญใต้หางหนูไปพอสมควร จะมีเส้นขีดคมๆ พาดขวางอยู่
6) ที่เลข ๒๕๒๓ ตัวเลขจะมีรอยตะไบเฉียงๆ และเหนือเลข ๒ ตัวหลังสุด จะมีเส้นไข่ปลาเล็ก พุ่งไปหาเส้นขนมจีน
7) พื้นเหรียญบริเวณหลังหนูจะมีเส้นกระแสเหรียญพุ่งขึ้นชัดเจนมาก
9) พื้นเหรียญช่วงบนตัวเลข ๒๕๓๒ จะมีเส้นบางๆพาดขวางทะลุเส้นขนมจีนออกไป
10) ตรงคำว่า ลักษณ์ หน้า ั จะมีเส้นขีดแตกออกมา
ขอบตัดเหรียญโชคดี บล็อกนะไม่มีหัว
บล็อกนะมีหัว กับไม่มีหัวจะใช้ตัวตัดคนละตัวกัน ทำให้ร่องรอยการตัดขอบเหรียญแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ใต้คำว่า โก จะมีร่องบากเป็นบั้งลึกๆหลายร่อง