เหรียญคุ้มภัยแปดทิศ(โป๊ยกั๊ก) จัดสร้างปี พ.ศ.2538 หลวงพ่อเกษม เขมโก เมตตาปลุกเสกถึง 3 วาระ
- วาระแรก วันสงกรานต์ 13 เม.ย. 2538
- วาระที่สอง วันวิสาขบูชา 13 พ.ค. 2538
- วาระที่สาม วันอาสาฬหบูชา 11 ก.ค. 2538
จำนวนการจัดสร้าง
- เนื้อทองคำลงยา 484 เหรียญ
- เนื้อเงินลงยา 1,484 เหรียญ จะมี 2 บล็อกคือ บล็อกทองคำ กับบล็อกธรรมดา
- เนื้อเงินหน้ากากทองคำ (ไม่ทราบจำนวนการจัดสร้างที่แน่ชัด)
- เนื้อทองแดงกะไหล่ทองลงยา 5,984 เหรียญ
สำหรับบทความนี้ ผมขออนุญาตินำเสนอเป็นบล็อกทองคำ(บล็อกพิมพ์เดียวกับเนื้อทองคำ)ก่อนนะครับ โดยตำหนิของแต่ละบล็อกจะแตกต่างกันเล็กน้อย และร่องรอยการตัดขอบเหรียญแต่ละบล็อกจะต่างกัน
ตำหนิคุ้มภัย8ทิศ บล็อกทองคำด้านหน้า
1) ในร่องไหปลาร้า จะมีเส้นเอ็น 3 เส้น โดยเส้นเอ็นที่นูนขึ้นจะมนๆไม่คมเท่าบล็อกธรรมดา
2) ตามพื้นขอบเหรียญมีลักษณะเป็นรอยกลึงเป็นวงๆ และจุดที่มองเห็นชัดได้ด้วยตาเปล่า จะอยู่ฝั่งซ้ายมือช่วงประมาณ 8.30 นาฬิกา
3) ใบหน้าและเม็ดตาของหลวงพ่อมีความคมชัด
4) เส้นแบ่งช่องของร่องลงยาจะเรียว และการลงยาจะสวยงามไม่เลอะเปรอะเปื้อน
5) สังเกตุที่แขนหลวงพ่อ(ฝั่งซ้ายมือเรา) ใต้รักแร้มาพอประมาณ (ส่วนใหญ่)จะมีก้อนเนื้อเกิน
ตำหนิคุ้มภัย8ทิศ บล็อกทองคำด้านหลัง
1) ให้สังเกตพื้นขอบเหรียญฝั่งซ้ายมือช่วงประมาณ11 นาฬิกา จะมีรอยตำหนิ 1 จุด และจะมีอีกจุดใกล้ๆ 12 นาฬิกา จะเป็นลักษณะโค้งขึ้น
2) ที่ปลายของยันต์ที่ถ้าเป็นบล็อคทองคำจะไม่มีเส้นแตกออกมา
3) พื้นขอบเหรียญช่วงประมาณ 1 นาฬิกา จะมีลักษณะคล้ายเนื้อเกินครึ่งวงกลมนูนขึ้น
4) โคนหูหนูจะเรียวแหลมต่างจากบล็อกธรรมดา และให้ดูที่ขาหน้าของหนูจะมีลักษณะโค้งๆ
ขอบตัดเหรียญคุ้มภัยทิศเนื้อเงินลงยา บล็อกทองคำ
ตามที่แจ้งไปก่อนหน้าว่าเนื้อเงินจะมี 2 บล็อก ลักษณะร่องรอยการตัดขอบเหรียญของบล็อกทองคำกับบล็อกธรรมดาจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน